มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1. ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2503 ได้เปลี่ยนสถานะจากมหาวิทยาลัยในควบคุมของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีพื้นที่ดำเนินการรวม 4 แห่ง ได้แก่ มจธ. (พื้นที่การศึกษาบางมด) มจธ. (พื้นที่การศึกษาบางขุนเทียน) ศูนย์บริการทางการศึกษาราชบุรี และอาคาร KX (Knowledge Exchange) เขตคลองสาน จ. กรุงเทพฯ
2. การจัดการศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดการศึกษาโดยเปิดสอนระดับปริญญาตรี โท และเอก
สำหรับระดับปริญญาตรี ที่เปิดสอนในคณะ/สาขาวิชาต่าง ๆ มีดังนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ http://www.eng.kmutt.ac.th/ มีเป้าหมายการผลิตบัณฑิตให้เป็นวิศวกรที่สามารถทำงานได้ทั่วโลก มีการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไฟฟ้ากำลัง ปิโตรเคมี รวมทั้งมีการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมผสานกับอาชีพ เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ให้กับประเทศ โดยเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 22 สาขาวิชา ดังนี้
หลักสูตรปกติ 13 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
3. สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด
4. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์
5. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
6. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
7. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
8. สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
9. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือ
10. สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
11. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
12. สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
13. สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
หลักสูตรพิเศษ 9 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (พลังงาน เศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม)
2. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลังและพลังงาน)
3. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)
4. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
5. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
6. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ)
7. สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ (หลักสูตรนานาชาติ)
8. สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ)
9. สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด (สหกิจศึกษา)
คณะวิทยาศาสตร์ http://science.kmutt.ac.th/ เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี ใน 7 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เน้นด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์และคอมพิวเตอร์
2. สาขาวิชาเคมี เน้นด้านเคมี และด้านเคมีอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม
3. สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์เน้นฟิสิกส์ วัสดุและนาโนเทคโนโลยีที่ใช้ในอุตสาหกรรมและการวิจัย
4. สาขาวิชาจุลชีววิทยา เน้นด้านจุลชีววิทยาในอุตสาหกรรมอาหาร การแพทย์การเกษตร การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ชีววิทยา โมเลกุล
5. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การแปรรูปอาหาร การควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
6. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์เน้นด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ธุรกิจและอุตสาหกรรม
7. สาขาวิชาสถิติ เน้นการประยุกต์ใช้สถิติกับงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและธุรกิจอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ แต่ละหลักสูตร (ยกเว้นสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์) สามารถเลือกเรียนวิชาโทด้านวิทยาศาสตร์ ทุกสาขา และ/หรือด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่จัดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้มาตรฐานการเรียนการสอนและวัดผลเดียวกัน
คณะวิทยาศาสตร์มุ่งมั่นที่จะพัฒนาหลักสูตรให้เข้าสู่ระบบสากลและขยายเครือข่ายการเรียนรู้ของนักศึกษาให้กว้างขวาง จึงได้จัดทำโครงการต่างๆ เสริมขึ้น เช่น
- โครงการเรียนรู้ร่วมกับธุรกิจอุตสาหกรรม
- โครงการทุนการศึกษา
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี http://www.fiet.kmutt.ac.th เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีดังนี้
1. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต(ค.อ.บ.)หลักสูตร 5 ปี เปิดสอน 4 สาขาวิชาได้แก่
1.1 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
1.2 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
1.3 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- วิชาเอกวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
- วิชาเอกวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- วิชาเอกวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
1.4 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
เป็นหลักสูตรที่เปิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ผู้ที่เรียนในหลักสูตรนี้จะมีความสามารถในการปฏิบัติงานช่างได้ด้วยตนเอง มีความรู้เชิงวิศวกรรมและมีความสามารถในการถ่ายทอดเป็นอย่างดี บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้ จะสามารถเป็นครู-อาจารย์สอนระดับอาชีวศึกษา ครูสอนวิชาการงานการอาชีพในสถานศึกษาระดับพื้นฐานและเป็นนักฝึกอบรมในสถานประกอบการได้
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี เปิดสอน 2 สาขาวิชา ได้แก่
2.1 สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์เป็นหลักสูตรที่เปิดขื้น เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะมีความรู้ความสามารถทางด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างดี
2.2 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตบุคลากรที่มีความรู้ในการพัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียสมัยใหม่ โดยผู้เรียนจะมีความรู้ครอบคลุม 3 ด้านได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์และศิลปการออกแบบ ผู้สำเร็จการศึกษาจะสามารถสร้างเกมส์ ภาพยนตร์การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บและโฮมเพจการจำลองสถานการณ์และความจริงเสมือนและสามารถจัดทำฐานข้อมูลทางการศึกษาในระบบทางด่วนข้อมูลได้
3. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) หลักสูตร 4 ปี สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เปิด 4 สาขาวิชาเอก ได้แก่
3.1. สาขาเทคโนโลยีเครื่องกล
3.2. สาขาเทคโนโลยีโยธา
3.3. สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า
3.4. สาขาเทคโนโลยีอุตสาหการ
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรแบบพหุวิทยาการ (Multidisplinary) มุ่งเน้นที่จะผลิตนักเทคโนโลยีและช่างเทคนิคระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีความรู้หลากหลายจากศาสตร์ต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีเครื่องกล เทคโนโลยีโยธา เทคโนโลยีไฟฟ้า เทคโนโลยีอุตสาหการ และเทคโนโลยีการจัดการ มาผสมผสานเพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผู้จบจากหลักสูตรนี้มีความสามารถทั้งด้านทฤษฎีและปฎิบัติ มีความสามารถที่จะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมและพัฒนางานวิจัยทางเทคโนโลยี สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับสังคมและสถานการณ์ทั้งปัจจุบันและอนาคต สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ ในการผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพ ระดับเทคโนโลยีรวมทั้งยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมและการอาชีวศึกษาของประเทศ
4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(วท.บ.)(จัดการเรียนการสอนที่ มจธ.พื้นที่การศึกษาบางขุนเทียนเป็นหลัก)หลักสูตร 4 ปี เปิดสอน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดียเป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการคิดและการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ มีเดีย และศิลปะ เพื่อประยุกต์ใช้งานและบูรณาการความรู้ความสามารถเหล่านั้น ในการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวก ที่ตอบสนองความต้องการในการดำเนินชีวิตของมนุษย์โดยคำนึงถึงมิติทางด้านประสาทสัมผัสและการรับรู้ของมนุษย์เป็นหลัก แบ่งเป็น 3 กลุ่มวิชาเอก คือกลุ่มเทคโนโลยีมีเดีย ดิจิทัล กลุ่มเทคโนโลยีมีเดียชีวการแพทย์และกลุ่มการพัฒนาเกมส์
5. หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) (จัดการเรียนการสอนที่ มจธ. พื้นที่การศึกษาบางขุนเทียนเป็นหลัก) หลักสูตร 4 ปี เปิดสอน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชามีเดียอาตส์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความสามารถทางปัญญาแห่งศาสตร์ทางศิลปะและการออกแบบที่เน้นทางด้านแอนิเมชัน ด้านเทคนิคภาพเพื่อการผลิตภาพยนตร์และด้านการถ่ายภาพถ่ายดิจิทัลและการออกแบบกราฟิก ตลอดจนปลูกฝังให้มีการนำเอาคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมและบุคคลมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตผลงาน
6. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต(ทล.บ.)(จัดการเรียนการสอนที่ มจธ.พื้นที่การศึกษาบางขุนเทียนเป็นหลัก)หลักสูตร 4 ปี เป็นการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาวิชาประกอบด้วย 5 กลุ่ม คือ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี การศึกษาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถสร้างสื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสาร การศึกษาวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรครวมถึงการประชาสัมพันธ์ การวิจัย การผลิตสื่อการเรียนการสอนและการพัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบคุณภาพงานบริการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ http://www.arch.kmutt.ac.th/ (จัดการเรียนการสอน ณ มจธ.พื้นที่ การศึกษาบางขุนเทียน) เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติโดยจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ 4 สาขาวิชาคือ
1. หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) สาขาวิชาสถาปัตยกรรม หลักสูตร 5 ปี
2. หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายในหลักสูตร 5 ปี
3. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต(ศป.บ.) สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรมหลักสูตร 4 ปี
4. หลักสูตรศิลปบัณฑิต(ศ.บ.) สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตร 4 ปี
หลักสูตรทั้งหมด ดำเนินการสอนโดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ การเรียนการสอนจะเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาต้องมีพื้นฐานภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เทียบเท่าในระดับคะแนนสอบ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 61 (ibt)
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ http://www.sit.kmutt.ac.th/
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ดำเนินการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sit.kmutt.ac.tli
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) (หลักสูตรภาษาไทย) ดำเนินการสอนเป็นสองภาษา โดยการบรรยายอาจเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ สำหรับตำราและข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sit.kmutt.ac.tli
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม http://www.fibo.kmutt.ac.th/
เป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทยที่มีการเปิดหลักสูตรที่ให้ปริญญาเฉพาะทางทางด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยในระยะแรกมีเพียงหลักสูตรในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในปัจจุบันทางสถาบันฯ ได้เล็งเห็นแนวโน้มความต้องการใช้บุคลากรและเทคโนโลยีด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขื้น สถาบันฯ จึงได้ริเริ่มเปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติขื้น โดยเริ่มเปิดการเรียนการสอนเป็นปีแรก ในปี พ.ศ. 2557
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีความตื่นตัวทางด้านเทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับนักเรียนนักศึกษาในยุคศตวรรษ ที่ 21 ซึ่งเปลี่ยนจากการเน้นการป้อนเนื้อหาวิชาความรู้ให้นักเรียนนักศึกษาอย่างเดียวเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ที่นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับการเรียนรู้มากขึ้น สถาบันฯ เห็นความสำคัญของการออกแบบหลักสูตรแบบ เน้นการสร้างความมีส่วนร่วมของนักศึกษาในชั้นเรียนเป็นหลัก จึงมีหลักในการจัดการเรียนการสอน 3 อย่าง ได้แก่
1. การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ (The win to learn) ด้วยแนวคิดที่เชื่อว่าการเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยการเสริมสร้าง แรงจูงใจในการเรียนรู้และกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของนักศึกษาจะทำให้นักศึกษารู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สนุกกับการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น โดยในแต่ละชั้นปีจะมีธีมหลักในการพัฒนานักศึกษา ได้แก่ ชั้นปีที่ 1 จะเน้นการสร้างแรงบันดาลใจและการเปิดโลกทัศน์(Intrinsic Motivation)ปีที่ 2 เน้นเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้แก่นักศึกษา (Creative Thinking)ปีที่ 3 เน้นเสริมสร้างทักษะให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) และปีที่ 4 เน้นการปูทางสู่เส้นทางอาชีพและอนาคตของนักศึกษา (Identity development)
2. การบูรณาการการเรียนรู้ (Integrative Learning) เนื่องจากโดยเนื้อหาของหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัตินั้นมีความเป็นสหวิทยาการ นักศึกษาจึงควรมีทักษะในการบูรณาการทักษะและความรู้ทางด้านวิศวกรรมในสามสาขาหลัก ได้แก่ เครื่องกล ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ เห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากรายวิชาต่างๆ ข้ามสาขาได้ ด้วยเหตุนี้สถาบันฯ จึงจัดการเรียนการสอนในรูปแบบโมดูล โดยประกอบด้วย 10 โมดูลใน 8 ภาคการศึกษา ในแต่ละโมดูลจะประกอบไปด้วย 2-3 รายวิชาในภาคการศึกษาเดียวกันและนักศึกษาจะได้ทำโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงานในแต่ละโมดูล ทำให้ในแต่ละภาคการศึกษา นักศึกษาจะได้ทำโครงงานใหญ่ 1 - 2 โครงงาน ซึ่งจะเป็นโครงงานร่วมกันระหว่างวิชาที่นักศึกษาเรียนในภาคการศึกษานั้น ซึ่งจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของโมดูลนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นกลไกให้นักศึกษา ได้เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่เรียนในแต่ละภาคการศึกษา โดยในการวางแผนและพัฒนาแต่ละโมดูล อาจารย์ ในแต่ละรายวิชาภายใต้โมดูลเดียวกันจะได้ออกแบบโมดูลร่วมกัน ทำให้เกิดความสอดคล้องและการเชื่อมโยงของเนื้อหาในแต่ละรายวิชาซึ่งอาจไม่เกิดขื้นหากไม่มีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะโมดูล นอกจากนี้การมอบหมายโครงงานใหญ่หนึ่งโครงงานในระดับโมดูลแทนโครงงานเล็กจำนวนหลายโครงงานในระดับรายวิชา จะทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำโครงงานที่มีความเข้มข้นมากขึ้น และสามารถนำความรู้ที่เรียนในแต่ละวิชามาบูรณาการเพื่อไปประยุกต์ใช้จริงผ่านการทำโครงงานในโมดูลได้
3. การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by Doing) หลักสูตรของทางสถาบันฯ จะเน้นการเพิ่มทักษะและความชำนาญของนักศึกษาจากการลงมือทำจริง (Hands-on Skills) และสนับสนุนทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning) ของนักศึกษาผ่านการทำโครงงานต่างๆ (Project-based Learning) โดยมีอาจารย์มีหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้นักศึกษาได้ฝึกการทำงานเป็นทีมและเสริมทักษะในการสื่อสาร และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรเหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21
นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ได้วางหลักสูตรเพื่อปูเส้นทางการประกอบอาชีพให้นักศึกษา โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาปีที่ 3 และ 4 สามารถเลือกเรียนวิชาเสือกได้ตามความถนัด และความสนใจในเส้นทางอาชีพของตนเอง ใน 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. นักศึกษาที่สนใจเรียนต่อทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมิติในระดับ ป.โท และเอก สามารถเลือกเรียนวิชาขั้นสูงทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมิติได้ผ่านวิชา Special Topics เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ต้องการต่อยอดความรู้เพื่อเป็นนักวิจัยและอาจารย์ในอนาคต
2. นักศึกษาที่สนใจต่อยอดเป็นผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี ทางหลักสูตรมีความร่วมมือกับหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีเปิดวิชาเลือกเพื่อปูพื้นฐานทางด้านธุรกิจเทคโนโลยีให้แก่นักศึกษา
3. นักศึกษาที่สนใจทำงานในภาคอุตสาหกรรม หลักสูตรมีวิชา Work-integrated Learning เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าฝึกงานในบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อทำโครงงานจากโจทย์อุตสาหกรรมจริง โดยอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมีหลากหลายประเภท ทั้งอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร และอุตสาหกรรมและธุรกิจด้านการศึกษาและความบันเทิง เป็นต้น
รายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://admission.kmutt.ac.th หรือ โทรศัพท์หมายเลข 0-2470-8333
ที่มา: สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย