จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1. ที่ตั้ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บนพื้นที่ดินพระราชทาน จำนวน 1,309 ไร่ มีอาณาเขตครอบคลุมสองฟากถนนของพญาไท และเขตข้างเคียง และยังมีสถาบันสมทบอีก 2 สถาบัน คือ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย และวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ นอกจากนี้ยังมีสถาบันวิจัยและสถาบันบริการทางวิชาการอีกด้วย
2. การจัดการศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนในระดับปริญญาตรีในคณะ/ประเภทวิชา ดังต่อไปนี้
คณะแพทยศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 6 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัคร คัดเลือกเข้าศึกษาโดยวิธีรับตรง
คณะทันตแพทยศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 6 ปี
คณะเภสัชศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 6 ปี มี 2 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ เป็นหลักสูตรเพื่อผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ มีความรู้และความสามารถเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการวิจัย พัฒนา ผลิตและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบูรณาการองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศและรองรับการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน และผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาจะต้องทำสัญญาคํ้าประกันเภสัชกรคู่สัญญา
2. สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม เป็นหลักสูตรเพื่อผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ มีความรู้ ในหลักการบริหารงาน บริหารระบบยาและระบบสุขภาพ มีความเป็นผู้นำ มีความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน การบริบาลทางเภสัชกรรม คัดเลือกและจ่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้คำปรึกษาแนะนำ สอน สาธิตและบริหารจัดการความเสี่ยงในการใช้ยา ส่งเสริมสุขภาพและการปองกันโรคเพื่อดูแลประชาชนและผู้ป่วยเฉพาะรายในชุมชน หรือสถานพยาบาลระดับต่างๆ ให้ได้รับ การรักษาและเองกันโรคด้วยยาอย่างเหมาะสม และสามารถบูรณาการงานบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด และผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาจะต้องทำสัญญาคํ้าประกันเภสัชกรคู่สัญญา
คณะสัตวแพทยศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 6 ปี
คณะสหเวชศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี มี 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร และสาขาวิชารังสีเทคนิค โดยในบางรายวิชาหรือบางหัวข้ออาจมี การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งรายละเอียดจะแจ้งให้ทราบในภายหลัง สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์และสาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร สามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมกลุ่มวิชาโทอณูชีววิทยา กลุ่มวิชาโทโภชนาการและการกำหนดอาหาร หรือกลุ่มวิชาโทอื่นๆ ที่เปิดสอนในคณะต่างๆ จำนวน 15 หน่วยกิตได้
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี
คณะวิทยาศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี โดยมีรูปแบบการจัดหลักสูตรดังต่อไปนี้
1. แบบเอกเดี่ยว ประกอบด้วย 17 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาสัตววิทยา สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ สาขาวิชาพันธุศาสตร์ สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม สาขาวิชาธรณีวิทยา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล สาขาวิชาชีวเคมี สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร
2. แบบโท-เอก คณะวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาหลักสูตรข้ามสาขาวิชา (กลุ่มวิชาโท) จำนวน 14 สาขาวิชา เพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสศึกษาในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องเพิ่มอีก 1 สาขาวิชา นอกเหนือจากสาขาวิชาเฉพาะที่ได้เลือกเข้าศึกษาโดยตรง
3. โปรแกรมเกียรตินิยม (Honors Program) ผู้ที่จะเข้าศึกษาโปรแกรมเกียรตินิยมต้องผ่านการเรียนในชั้นปีที่ 1 ด้วยผล การเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 และเรียนรายวิชาในหลักสูตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุนทุนการศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี ประกอบด้วย 14 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมเรือ สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการและวัสดุ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี
เฉพาะสาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี และสาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ จะแยกรหัสรับเข้าต่างหาก และผู้ที่เข้าศึกษาได้ ในรหัสสาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี และรหัสสาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจในระหว่างการศึกษาไม่สามารถย้ายสาขาวิชาได้
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ดังนี้
1. ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 5 ปี ได้แก่
- หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มี 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน สาขาวิชา สถาปัตยกรรมไทย และสาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง
- หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มี 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
2. ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี ได้แก่
- หลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรมบัณฑิต มี 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี มี 3 หลักสูตร ได้แก่
1. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มี 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี
2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มี 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการจัดการเพื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการจัดการ สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน และสาขาวิชาการตลาด
3. หลักสูตรสถิติศาสตรบัณฑิต มี 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาการประกันภัย และสาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อธุรกิจ
คณะเศรษฐศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี มี 9 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ทฤษฎี กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ปริมาณวิเคราะห์ กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยองค์กรและองค์กรอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ผู้เข้าศึกษายังสามารถเลือกศึกษาวิชาโทข้ามศาสตร์จากคณะต่างๆ ได้แก่ คณะรัฐศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะจิตวิทยา และคณะวิทยาศาสตร์
คณะจิตวิทยา
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี ผู้เข้าศึกษาสามารถเลือกศึกษาวิชาโทข้ามศาสตร์ของคณะอื่นๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้
คณะครุศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 5 ปี มี 11 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา (วิทยาศาสตร์) มัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) สุขศึกษาและพลศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา ศิลปศึกษา ดนตรีศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน ธุรกิจศึกษา จิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ
คณะอักษรศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี มีวิชาเอก 14 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต สาขาวิชาภาษาจีน สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส สาขาวิชาภาษาเยอรมัน สาขาวิชาภาษาสเปน สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ สาขาวิชาศิลปการละคร สาขาวิชาสารนิเทศศึกษา และสาขาวิชาปรัชญา
คณะรัฐศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี มี 4 สาขาวิชาประกอบด้วยสาขาวิชาการปกครอง สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาและสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี
คณะนิเทศศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตร 4 ปี มี 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวารสารสนเทศ สาขาวิชาการกระจายเสียง สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาการโฆษณา สาขาวิชาวาทวิทยา สาขาวิชาสื่อสารการแสดง และ สาขาวิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง
รายละเอียดนอกจากนี้ศึกษาเพิ่มเติมที่เว็บไซต์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chula.ac.th
ที่มา: สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย