นักวิทยาศาสตร์การอาหาร
 
       วิเคราะห์ วิจัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและกายภาพที่เกิดขึ้นกับอาหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อันได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ปรับปรุงกระบวนการผลิต และแปรรูปอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในด้านคุณค่าทางอาหารไม่เป็นโทษต่อร่างกาย ราคายุติธรรม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
 
ลักษณะงานที่ทำ
       ประเทศไทยเริ่มมีการศึกษาเรื่องเทคโนโลยีการอาหาร หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยได้พัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การอาหารขึ้นในภาควิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อผลิตบุคลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการอาหาร นักวิทยาศาสตร์การอาหารมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
 1. เลือกใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิต หรือแปรรูปอาหาร
 2. บริหารและวางแผนกระบวนการแปรรูปอาหาร หรือถนอมอาหาร
 3. จัดหาและเตรียมวัตถุดิบให้ตรงตามความต้องการทั้งปริมาณและคุณภาพ
 4. มีความรอบรู้เรื่องเงื่อนไขของฤดูกาลการผลิตสินค้าการเกษตร ตลอดจนแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณค่าในการผลิต
 5. วิจัยพัฒนา ค้นคว้าผลิตภัณฑ์อาหาร และกระบวนการแปรรูป ถนอมอาหาร และเทคนิคการผลิตสินค้าใหม่ๆ
 6. จัดเตรียมวัตถุดิบ ตรวจบันทึก และจัดซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการ
 7. ให้คำแนะนำดูแลและควบคุมบุคลากร ในสายงานการผลิต
 8. ควบคุมคุณภาพและปริมาณของผลิตภัณฑ์อาหาร ให้มีคุณค่าได้มาตรฐานทางโภชนาการ
 9. มีความรู้ด้านการตลาดและต้นทุนการผลิต
 
สภาพการจ้างงาน
       ในภาคราชการผู้ปฏิบัติอาชีพนี้ จะได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ ตามข้อกำหนดของ
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ในภาคเอกชนผู้ปฏิบัติอาชีพนี้ จะได้รับอัตราค่าจ้างเป็นเงินเดือนๆ พร้อมทั้งสวัสดิการ และการได้รับโบนัสประจำปี
 
สภาพการทำงาน
       ผู้ประกอบอาชีพนี้ อาจทำงานทั้งในโรงงานผลิต และในห้องปฏิบัติการทดลอง โดยต้องใส่เครื่องแบบการปฏิบัติงาน และสวมอุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล 
       นักวิทยาศาสตร์การอาหาร อาจต้องปฏิบัติงานร่วมกับวิศวกรอาหาร และต้องปฏิบัติงานทั้งในโรงงานผลิตและ
ห้องปฏิบัติการทดลอง โดยต้องใส่เครื่องป้องกันอนามัยและความปลอดภัยส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน เช่น ถุงมือ หมวก ผ้ากันเปื้อน หรือเครื่องแบบที่ทางสถานประกอบกิจการจัดเตรียมไว้ให้
 
โอกาสการมีงานทำ
       จากการที่ประเทศไทยมีนโยบาย ที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นผู้ผลิตอาหารป้อนตลาดโลก (Kitchen of the World) โดยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ตามโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้น จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ และสร้างนวัตกรรมการผลิตที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์
       สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชานี้  ซึ่งผลิตบุคลากรได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะโรงงานอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่น โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานอาหารแช่เยือกแข็ง โรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ผลิตไส้กรอก โรงงานผัก ผลไม้อบแห้ง โรงงานขนมปัง อาหารขบเคี้ยว โรงงานผลิตภัณฑ์นม โรงงานผลิตเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ และโรงงานผลิตไวน์ผลไม้ เป็นต้น
 
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร หรือวิทยาศาสตร์การอาหาร
มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม
มีความรู้ในเรื่องการควบคุมต้นทุนการผลิต
มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
มีความรู้เรื่องมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการผลิต และกฎหมายอาหารทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น ข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อาหาร Halal, Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) ฯลฯ
เป็นผู้มีวิสัยทัศน์
 
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ 
       จากการที่ประเทศไทยมีนโยบาย ที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นผู้ผลิตอาหารป้อนตลาดโลก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้น จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ และสร้างนวัตกรรมการผลิตที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์
       สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ ผลิตบุคลากรได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะโรงงานอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่น โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานอาหารแช่เยือกแข็ง โรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ผลิตไส้กรอก โรงงานผัก ผลไม้อบแห้ง โรงงานขนมปัง อาหารขบเคี้ยว โรงงานผลิตภัณฑ์นม โรงงานผลิตเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ และโรงงานผลิตไวน์ผลไม้ เป็นต้น
 
ตัวอย่างมหาวิทยาลัยและคณะที่เกี่ยวข้อง
1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
2. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
4. มหาวิทยาลัยคริสเตียน คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ 
5. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร 
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เทคโนโลยีการบรรจุเทคโนโลยีชีวภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร)
7. มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
8. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิศวกรรมกระบวนการอาหาร เทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการบรรจุ
9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
10. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
11. มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
12. มหาวิทยาลัยพะเยา คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
13. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
14. มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
15. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
16. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
17. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะเกษตรศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
18. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ วิชาเอกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
 
ที่มา: กองส่งเสริมการมีงานทำ